หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน
142 หน่วยกิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน เป็นหลักสูตรที่มีการเชื่อมโยงของศาสตร์ที่เป็นพหุวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และการจัดการสิ่งแวดล้อม เน้นการสร้างบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะการทำงานจริง และทักษะของพลเมืองโลกในศตวรรษที่ 21 มีความสามารถในการสื่อสาร และมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไข ป้องกัน และจัดการปัญหาด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักการและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงของสังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และสามารถศึกษาทางด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมีความสอดคล้องกับเกณฑ์ข้อกาหนดทางวิชาชีพ สามารถประกอบวิชาชีพในด้านการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมและป้องกันมลพิษทั้งในสถานประกอบการ ชุมชน เมือง ทั้งรัฐและเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมมีความรู้พื้นฐานอย่างเพียงพอในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือสามารถเข้าสู่ตลาดงานสากลและสร้างงานเองได้ นอกจากนี้ยังเป็นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญต่อการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ มีประสบการณ์จากการปฏิบัติงานจริง และสามารถประยุกต์ใช้ทักษะเหล่านี้ในการประกอบอาชีพ สามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก มีความรับผิดชอบและมีจรรยาบรรณวิชาชีพ
PLO1 ประยุกต์กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการแก้ปัญหาเชิงระบบอย่างยั่งยืน
PLO2 นำทักษะเชิงปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมไปใช้ใน สถานการณ์จริงบนพื้นฐานทางวิชาการ
PLO3 สื่อสารและนำเสนอความรู้ทางสิ่งแวดล้อมได้ตรงตามวัตถุประสงค์ โดยใช้ภาษาและสื่อที่เหมาะสม
PLO4 แสดงออกถึงความสามารถทำงานด้วยตนเองและร่วมกับผู้อื่นได้ตามบทบาทและหน้าที่ได้อย่างลุล่วง
PLO5 แสดงออกถึงการมีจิตสานึกสาธารณะ จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อสังคม
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 | หน่วยกิต |
สาระที่ 1 ศาสตร์พระราชาและประโยชน์เพื่อนมนุษย์ | 4 | หน่วยกิต |
สาระที่ 2 ความเป็นพลเมืองและชีวิตที่สัน | 5 | หน่วยกิต |
สาระที่ 3 การเป็นผู้ประกอบการ | 1 | หน่วยกิต |
สาระที่ 4 การอยู่อย่างรู้เท่าทันและการรู้ดิจิทัล | 4 | หน่วยกิต |
สาระที่ 5 การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงตรรกะและตัวเลข | 4 | หน่วยกิต |
สาระที่ 6 ภาษาและการสื่อสาร | 8 | หน่วยกิต |
สาระที่ 7 สุนทรียศาสตร์และกีฬา | 2 | หน่วยกิต |
รายวิชาเลือก | 2 | หน่วยกิต |
ข. หมวดวิชาเฉพาะ | 106 | หน่วยกิต |
1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ | 40 | หน่วยกิต |
2) กลุ่มวิชาวิชาชีพ | 59 | หน่วยกิต |
(1) วิชาชีพบังคับ | 50 | หน่วยกิต |
(2) วิชาชีพเลือก | 9 | หน่วยกิต |
3) กลุ่มวิชาฝึกงานและโครงงานหรือสหกิจศึกษา แบ่งเป็น 2 แผน คือ | 7 | หน่วยกิต |
แผนฝึกงานและโครงงานนักศึกษา | 7 | หน่วยกิต |
นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนใน 3 รายวิชา ได้แก่ | ||
(1) ฝึกงาน | 2 | หน่วยกิต |
(2) โครงงานนักศึกษา 1 | 1 | หน่วยกิต |
(3) โครงงานนักศึกษา 2 | 4 | หน่วยกิต |
แผนสหกิจศึกษา | 7 | หน่วยกิต |
นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนใน 2 รายวิชา ได้แก่ | ||
(1) สหกิจศึกษา 1 | 1 | หน่วยกิต |
(2) สหกิจศึกษา 2 | 6 | หน่วยกิต |
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 | หน่วยกิต |
1) เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับ ปริญญาตรีและ การศึกษาตลอดชีวิต พ.ศ. 2563 โดยต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยไม่ตํ่ากว่า 2.00 จากระบบ 8 ระดับคะแนน